logo

ร่วมลงชื่อเสนอกฎหมาย

บำนาญพื้นฐานแห่งชาติ

เปลี่ยนจากเบี้ยยังชีพแบบรัฐสงเคราะห์ ให้เป็นบำนาญถ้วนหน้าด้วยรัฐสวัสดิการ

welcome-img

เราต้องการอย่างน้อย 10,000 ชื่อ

ลงชื่อแล้ว12280

อัปเดตข้อมูล 14 ธ.ค. 2566

ปิดรับลงชื่อแล้ว

facebook-logo x-logo line-logo

หลักการสำคัญ ของกฎหมายฉบับนี้

main-topic-0

เปลี่ยนแนวคิด ของการสร้างหลักประกันรายได้ของผู้สูงอายุจากการสงเคราะห์เป็นการให้แบบถ้วนหน้าอย่างสมศักดิ์ศรี ด้วยการเปลี่ยนเบี้ยยังชีพให้เป็นบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า

main-topic-1

ใช้หลักเกณฑ์เดียว คือจ่ายบำนาญให้ทุกคนเมื่อมีอายุครบ 60 ปี โดยไม่มีเงื่อนไข

main-topic-2

กำหนดอัตราการจ่าย ที่ใช้เกณฑ์เส้นความยากจน มีการกำหนดให้พิจารณาเกณฑ์ทุก 3 ปี โดยภาคประชาชนเสนอ 3,000 บาทถ้วนหน้า

main-topic-3

จัดการระบบบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าในรูปแบบกองทุน ที่มีการบริหารจัดการอย่างเป็นมืออาชีพ ทั้งการดูแลเงินในกองทุนและการหารายได้เพิ่มเพื่อความยั่งยืน

main-topic-4

มีการกำหนดแหล่งที่มาของรายได้กองทุน ผ่านการจัดเก็บภาษี ทั้งระบบภาษีที่มีอยู่เดิม ที่ยังจัดเก็บได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ และนำมาเข้ากองทุนบำนาญเฉพาะ รวมทั้งเสนอให้มีการจัดเก็บภาษี ที่ยังไม่มีการเก็บอย่างชัดเจน เช่นภาษีความมั่งคั่งเป็นต้น

อ่านร่างกฏหมายฉบับเต็ม

ทำไมต้องแก้กฎหมายผู้สูงอายุเดิม

เพราะการสงเคราะห์ ≠ สิทธิ์พื้นฐาน

กฎหมายเดิมยังมีหลักการแนวคิดการจ่ายเงินสนับสนุนผู้สูงอายุ เป็นลักษณะเบี้ยยังชีพที่ยังมีเบื้องหลังความเชื่อในลักษณะสงเคราะห์ที่ไม่ใช่สิทธิ์พื้นฐาน

เพราะไม่ระบุจำนวนเงิน

กฎหมายเดิมไม่มีการระบุอัตราการจ่าย ส่งผลให้สามารถเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินในการจ่ายตามนโยบายรัฐบาลปัจจุบันมีการจ่าย “เบี้ยยังชีพ” ให้คนที่อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 600 ,700, 800 และ 1,000 บาทตามอายุ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต

เพราะไม่กำหนดเกณฑ์การจ่ายที่ชัดเจน

แม้ว่าปัจจุบันมีการจ่ายถ้วนหน้าให้ผู้สูงวัยทุกคน แต่เนื่องจากไม่มีกฎหมายกำหนดความชัดเจนว่าควรมีเกณฑ์การจ่ายอย่างไร แต่ละปีจึงขึ้นอยู่กับหน่วยงานรัฐว่าจะเสนอเปลี่ยนแปลงเกณฑ์หรือไม่ เช่น เปลี่ยนจากให้ถ้วนหน้าเป็นเลือกให้บางกลุ่มเท่านั้นเป็นต้น

image-elder

จะเกิดอะไรขึ้น

ถ้ามี “บำนาญ พื้นฐานถ้วนหน้า”

  • ทำให้ผู้สูงอายุมีรายได้ที่แน่นอนทุกเดือน
  • ผู้สูงอายุวางแผนชีวิตระยะยาวได้ ว่าจะนำเงินที่ได้รับอย่างสม่ำเสมอไปทำอะไร เช่น ลงทุนค้าขาย ซ่อมแซมที่พักอาศัย เป็นต้น
  • กระตุ้นเศรษฐกิจจากการจับจ่ายใช้สอยของผู้สูงอายุ
  • ลดภาระการพึ่งพิงลูกหลานด้านค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่ง
  • ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เพิ่มศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และช่วยตัดวงจรความยากจนเรื้อรัง
image-elder

จะเกิดอะไรขึ้น

ถ้าไม่มี “บำนาญถ้วนหน้า” หรือให้บำนาญเฉพาะกลุ่ม

  • ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีชีวิตความเป็นอยู่ลำบาก อาจต้องอดมื้อกินมื้อเพราะไม่มีเงินออม และต้องพึ่งพิงเงินจากรัฐ
  • ลูกหลานมีภาระมากขึ้นในการดูแลผู้สูงอายุ
  • เกิดชนชั้นในสังคม แบ่งแยกคนรวยคนจน
  • วงจรความยากจนเรื้อรังส่งต่อจากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูก

รู้จักเรา

“เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ” (Welfare Watch Network)

logo-with-text

เคยได้ยินเรื่อง “บำนาญแห่งชาติ” กันไหม? เงินรายเดือนที่ปรับจากเบี้ยยังชีพ 600 – 1,000 บาท มาเป็น 3,000 บาทให้กับผู้สูงอายุทุกคน เพื่อเป็นหลักประกันรายได้ตอนสูงวัย แบบที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต

“เปลี่ยนเบี้ยยังชีพเป็นบำนาญถ้วนหน้า” คือหนึ่งในแคมเปญที่ เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ริเริ่มจากการทำงานของเครือข่ายประชาชนหลายภาคส่วนมารวมตัวกันขับเคลื่อน เปลี่ยนรัฐสงเคราะห์เป็นรัฐสวัสดิการ บนหลักการ "ถ้วนหน้าครอบคลุมทุกคน เพียงพอต่อการดำรงชีพอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยอิงตามเส้นความยากจนที่ปรับทุก 3 ปี และยั่งยืน โดยมีกฎหมายบำนาญแห่งชาติมารองรับ”

ก่อนหน้านี้ เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ รวบรวมรายชื่อประชาชนที่เห็นด้วยเสนอกฎหมายไปยังสภา แต่นายกฯ “ประยุทธ์” ปัดตกกฎหมาย โดยไม่มีเหตุผล ฟากฝั่งราชการที่ให้ความเห็นก็บอกว่า “เป็นภาระงบประมาณ ภาระประเทศ” แต่เรายังไม่ยอมแพ้ แม้กฎหมายจะถูกปัดตก เรายังคงผลักดันให้ทุกคนบนประเทศนี้มี “บำนาญแห่งชาติ” ให้ได้

สนใจร่วมขับเคลื่อน “บำนาญแห่งชาติ” ไปด้วยกันกับเรา เพื่อพ่อแม่ พี่ป้าน้าอาของเรา และตัวเรา ติดตาม FB แฟนเพจ: บำนาญแห่งชาติ

Partners

partner-1partner-2partner-3partner-4partner-5partner-6partner-7partner-8partner-9partner-10